แอปพลิเคชัน Loyalty ตัวใหม่ สร้างยังไงให้ยั่งยืน? [ฉบับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม]

ในบทความนี้ เราจะช่วยชี้ 5 ข้อพิจารณาสำคัญและ 3 ตัวเลือกของโซลูชันระบบ Loyalty ให้กับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่กำลังวางแผนที่จะมีแอปพลิเคชัน Loyalty เป็นของตนเอง

TYPE

Thoughts

TOOL

Loyalty App

บทนำ

ในตลาดของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการทุกรายต่างทราบดีว่า การแข่งขันกันเพื่อแย่งความจงรักภักดีของลูกค้ามีความเข้มข้นและดุเดือดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น กลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้าจึงกลายมีความสำคัญและขาดไม่ได้ในการทำการตลาด และแน่นอนว่า บัตรสะสมแต้มแบบเก่าๆ อาจจะไม่เพียงพอและไม่ทันกาลอีกต่อไป ทำให้ธุรกิจต่างหันมาพยายามทำโปรแกรม Loyalty ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ออนไลน์อย่างต่อเนื่อง มีรีวอร์ดที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตนเอง และทุกอย่างต้องทำได้ผ่านมือถือ

“แอปพลิเคชัน Loyalty” ที่ดีจึงมีผลมากต่อการดึงลูกค้าเก่ามาซื้อซ้ำ และทำให้ยอดซื้อต่อบิลสูงขึ้นตามลำดับ แต่การจะมีแอปสักตัวต้องมีปัจจัยหลายส่วนและพิจารณาวางแผนอย่างรอบคอบ 

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมาเข้าใจ “ข้อพิจารณาสำคัญ” ที่ต้องคิดก่อนจะสร้างแอป Loyalty ตัวใหม่กันครับ!

5 ข้อต้องคิดก่อนทำแอป Loyalty

1. ทำ “เป้าหมาย” และ “กลยุทธ์” ให้ชัด

ก่อนจะลงทุนทำแอปใหม่ ลองเช็คเป้าหมายทางการตลาดของตนเองใช้ชัดก่อนว่า เราต้องการจะให้แอปนี้จะช่วย…

✅ เพิ่มความถี่ในการมาหน้าร้าน?
✅ เพิ่มยอดซื้อต่อบิล?
✅ ให้ซื้อสินค้าจากแอปได้เลย?
✅ ดึงลูกค้าจากแพลตฟอร์มอื่นมาไว้บนแพลตฟอร์มของตนเอง?
✅ เก็บข้อมูลลูกค้ามาเพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (personalized marketing)?
หรือ มีจุดประสงค์อื่นๆ

การเลือกเป้าหมายในการทำโปรแกรม Loyalty ให้ได้ก่อน เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด ซึ่งในฐานะที่ปรึกษา เราจะแนะนำให้ลูกค้าทำก่อนเป็นลำดับแรกเสมอ 

เมื่อมีเป้าหมายชัด ลองมาคิดต่อในมุมของ “โมเดล” การทำ Loyalty กันบ้าง

โดยทั่วไป จะมีโมเดลที่ธุรกิจมักจะใช้กัน ดังนี้:

  • ระบบคะแนน: ลูกค้าจะได้คะแนนตามสัดส่วนของยอดซื้อ และนำไปแลกรีวอร์ดมา เช่น ทุก 25 บาท เป็น 1 คะแนน และยอดการแลกรีวอร์ด เป็น ทุก 1,000 คะแนนเป็น 100 บาท เป็นต้น

  • ระบบระดับสมาชิก (Tiered programs): ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งมีระดับที่สูงขึ้นพร้อมสิทธิพิเศษที่มากขึ้น

  • ระบบสมาชิกแบบเช่าใช้: ลูกค้าจ่ายเงินรายเดือน/รายปีเป็นสมาชิกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคลับหรือกลุ่มพิเศษที่จะได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าผู้ที่ไม่ใช่สมาชิก

  • การสะสมแต้มเสมือนเล่นเกมส์ (Gamification): ลูกค้าสะสมแต้มในรูปแบบการเล่นเกมส์ เช่น การมีมิสชั่นหรือด่านให้สะสมแต้มให้ครบ เมื่อครบจะได้ Badge หรือเหรียญบางอย่าง ซึ่งจะให้สิทธิพิเศษบางอย่าง เป็นต้น

การจะมีหรือไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้บนแอป Loyalty ต้องพิจารณาถึงลูกค้าที่จะมาเป็นสมาชิกของแบรนด์ ว่ามีพฤติกรรมในการซื้ออย่างไร มีความ Sensitive ต่อราคาหรือไม่ ตอบรับกับโปรโมชันหรือรีวอร์ดอย่างไร และที่สำคัญกลยุทธ์และการวางตัวของแบรนด์ของเรานั้นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราวางแผน “ประสบการณ์” ที่ลูกค้าจะมีต่อแอปของเรา (และแน่นอนว่า ฟีเจอร์เหล่านี้ มีต้นทุนที่สูงต่างกันนะครับ)

2. การเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่

ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว แอป Loyalty ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว สำหรับธุรกิจที่มีการเติบโต เราจะต้องพิจารณาถึงระบบที่มีการใช้อยู่แล้ว และการเชื่อมต่อเข้ากับแอปของเราให้ไร้ความผิดพลาดมากที่สุด โดยปกติแล้วจะได้แก่

🔹 ระบบขายหน้าร้าน (POS):

ถือเป็นระบบที่สำคัญที่สุดต่อแอป Loyalty เพราะเป็นที่มาของการขาย ส่วนใหญ่แล้วจะมีการเชื่อมต่อกันในส่วนของ (1) ยอดซื้อ เมื่อบันทึกซื้อใน POS แล้วให้มีการสะสมแต้มให้ลูกค้าทันที (2) รีวอร์ด หากลูกค้าจะใช้ Voucher บางอย่าง จะต้องสามารถบันทึกส่วนลดได้ใน POS (3) ฐานข้อมูลสมาชิก การที่จะรู้ได้ว่าใครจะได้สิทธิพิเศษอะไร จะต้องมีฐานข้อมูลสมาชิกที่ตรงกันทั้งในแอปและใน POS เป็นต้น

🔹 แพลตฟอร์ม E-commerce:

หากเป้าหมายคือการดึงลูกค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ มาไว้ที่แอปของเรา อาจจะมีวิธีให้ลูกค้าสมัครสมาชิกจากแพลตฟอร์มอื่น หรือมาแลกรีวอร์ดจากแอป เพื่อเอาไปเป็นส่วนลดที่แพลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

🔹เครื่องมืออย่าง CRM, Marketing Automation, หรือ CDP:

เมื่อได้ข้อมูลลูกค้ามาแล้ว หากแอปของเราไม่ได้มีเครื่องมือในการสื่อสารกลับไปหาลูกค้าในทุกช่องทาง ก็สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าออกตามระดับ ยอดซื้อ ความถี่ และอื่นๆ เพื่อทำการเสนอโปรโมชัน หรือส่วนลดพิเศษที่เฉพาะตามบุคคลมากขึ้น 

การที่ระบบเหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกับแอป Loyalty จะช่วยทำให้งานหลังบ้านของเราไม่สะดุด มีข้อผิดพลาดน้อย ตรวจสอบได้ และที่สำคัญลูกค้าจะได้ประสบการณ์ที่รวดเร็วทันใจและสร้างความประทับใจที่ดี

3. ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้า (User Experience - UX) และการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Engagement)

แอป Loyalty ที่ประสบความสำคัญจะต้อง ใช้ง่าย เร็ว และให้รีวอร์ดจริงๆ
ข้อพิจารณาหลักๆ ด้านประสบการณ์ลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่

💡ออกแบบมาเพื่อมือถือ:

ลูกค้าส่วนใหญ่คาดหวังอยู่แล้วว่าแอป Loyalty จะต้องเปิดบนมือถือ ผ่านแอปของแบรนด์ หรือผ่านแพลตฟอร์มแชทอย่าง Line, Alipay, WhatsApp

💡สมัครใช้ง่าย แลกรีวอร์ดง่าย:

การสมัครใช้ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ง่ายและเร็วที่สุดสำหรับลูกค้า หากใช้เวลาหรือต้องการข้อมูลมากเกินไป อาจจะทำให้ลูกค้าล้มเลิกความตั้งใจไปได้ง่ายๆ การแลกรีวอร์ดก็เช่นกัน ต้องทำให้ลูกค้าเห็นว่ามีคะแนนเท่าไหร่ แลกอะไรได้บ้าง และทำการแลกได้อย่างไม่ยุ่งยาก

💡เนื้อหาที่เฉพาะส่วนบุคคล (Personalization):

หากจะส่งโปรโมชัน ลูกค้าก็มักจะคาดหวังที่จะได้โปรโมชันที่เกี่ยวกับสินค้าที่ชื่นชอบ เคยซื้อ หรือคาดว่าจะซื้อ เพราะฉะนั้น Engine ที่อยู่หลังบ้านของตัวแอปพลิเคชันจะต้องสามารถจัดกลุ่มสมาชิกเพื่อให้เราสามารถส่งเนื้อหาให้ตรงกับข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนได้

💡การทำ Gamification:

นอกจากง่ายแล้ว แอป Loyalty ในปัจจุบันยังแข่งกับที่ความ “สนุก” ด้วยการเพิ่มเกมส์ต่างๆ มาให้การสะสมแต้ม หรือเพิ่มยอดซื้อเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น หรือน่าเข้าร่วม เช่น การทำชาเลนจ์ การให้ตามเก็บแต้มให้ครบ x แต้ม การไต่ระดับสมาชิกได้สูงขึ้นในระยะเวลาจำกัด เป็นต้น

แต่การจะมีฟีเจอร์เหล่านี้ ก็ต้องคิดให้ดีว่าจะทำให้แอปของเราใช้ยากเกินไปหรือไม่ ซับซ้อนเกินไปจนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้นานเกินไปหรือไม่ การออกแบบประสบการณ์และหน้าตาการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการพัฒนาแอป

4. การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดให้ฉลาดกว่าเดิม

การมีแอปพลิเคชันไม่ควรจะทำหน้าที่แค่เพื่อให้รีวอร์ดกับลูกค้า แต่ควรจะให้รีวอร์ดกับแบรนด์ด้วย ในที่นี้ รีวอร์ดของเราก็คือ “ข้อมูล” และ “อินไซต์” ที่ช่วยให้เราพัฒนาแผนธุรกิจและการตลาดให้ได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปนั่นเอง เช่น

📊 เข้าใจอินไซต์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า:

เราควรจะเห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่หรือแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการซื้อแบบใด? ชอบซื้อเมนูอะไร ในช่วงเวลาใด ทางช่องทางไหน? แต่ละสาขามีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเมนูต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร เป็นต้น อินไซต์เหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถพัฒนาเมนูใหม่ๆ ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม และทำโปรโมชันเฉพาะสาขา หรือระยะเวลาได้อย่างแม่นยำ

📊 ให้ระบบช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ และทำงานให้เรา:

ให้ระบบ โดยเฉพาะตัวที่มี AI ทำการเก็บข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ และคาดการณ์ให้กับเรา เช่น คาดการณ์สัดส่วนของลูกค้าที่จะเลิกใช้ (Churn) และส่งข้อความเพื่อนำเสนอโปรโมชันให้กลับมาใช้ หรือ ส่งโปรโมชันพิเศษเพื่อดึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่มาที่หน้าร้านให้กลับมา เป็นต้น

📊 สร้างยอดขายจากกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจ่าย:

เมื่อมีข้อมูลที่เก็บไว้มากพอ ก็ทำให้เราเห็นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนขึ้น และจะเห็นเองว่ากลุ่มใดคือกลุ่มที่พร้อมจะจ่ายให้กับสินค้าที่ราคาสูงกว่าปกติ หรือกลุ่มที่พร้อมจะลองเมนูใหม่ๆ ก่อนใคร เราจะเริ่มเรียนรู้ว่าการส่งโปรโมชันพิเศษไปให้กลุ่มเหล่านี้ จะมีผลอย่างไรกับรายได้ที่วิ่งกลับมา

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ แบรนด์จะเริ่มทำโปรโมชันที่ฉลาดขึ้น และเริ่มเห็นยอดขายที่สูงขึ้นตามลำดับ

5. อย่าลืมมองความปลอดภัยของข้อมูล และความพร้อมในการขยับขยาย

คุณค่าของแอป Loyalty ก็คือข้อมูลของลูกค้า ทำให้การปกป้องและจัดการข้อมูลลูกค้านั้นเป็นเรื่องที่จะมองข้ามไม่ได้ อย่าลืมเรื่องเหล่านี้:

🔐 การทำตามกฏหมายด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่าง PDPA เราจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้าในการใช้ข้อมูล และส่งข้อมูลด้านการตลาดก่อนเสมอ

🔐 การจ่ายเงินที่ปลอดภัย (หากมีการซื้อออนไลน์ได้) และการได้มาซึ่งแต้มหรือการแลกรีวอร์ดที่โปร่งใส ไร้ทุจริต

🔐การเลือกโซลูชันที่มีโครงสร้าง (Infrastructure) ที่พร้อมเติบโตไปกับข้อมูลที่นับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระบบควรจะยังทำงานได้ดี ไม่ว่าเราจะมีฐานข้อมูลที่มากขึ้นอย่างรวดเร็วมากน้อยเพียงใด

หากข้อมูลลูกค้ารั่วไหลออกไป หรือแอปหยุดทำงานกระทันหัน จะทำให้ลูกค้าเริ่มไม่เชื่อใจในแบรนด์ และอาจจะทำให้การใช้งานแอปลดน้อยลงได้

5 ข้อต้องคิดก่อนทำแอป Loyalty

1. ทำ “เป้าหมาย” และ “กลยุทธ์” ให้ชัด

ก่อนจะลงทุนทำแอปใหม่ ลองเช็คเป้าหมายทางการตลาดของตนเองใช้ชัดก่อนว่า เราต้องการจะให้แอปนี้จะช่วย…

✅ เพิ่มความถี่ในการมาหน้าร้าน?
✅ เพิ่มยอดซื้อต่อบิล?
✅ ให้ซื้อสินค้าจากแอปได้เลย?
✅ ดึงลูกค้าจากแพลตฟอร์มอื่นมาไว้บนแพลตฟอร์มของตนเอง?
✅ เก็บข้อมูลลูกค้ามาเพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (personalized marketing)?
หรือ มีจุดประสงค์อื่นๆ

การเลือกเป้าหมายในการทำโปรแกรม Loyalty ให้ได้ก่อน เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด ซึ่งในฐานะที่ปรึกษา เราจะแนะนำให้ลูกค้าทำก่อนเป็นลำดับแรกเสมอ 

เมื่อมีเป้าหมายชัด ลองมาคิดต่อในมุมของ “โมเดล” การทำ Loyalty กันบ้าง

โดยทั่วไป จะมีโมเดลที่ธุรกิจมักจะใช้กัน ดังนี้:

  • ระบบคะแนน: ลูกค้าจะได้คะแนนตามสัดส่วนของยอดซื้อ และนำไปแลกรีวอร์ดมา เช่น ทุก 25 บาท เป็น 1 คะแนน และยอดการแลกรีวอร์ด เป็น ทุก 1,000 คะแนนเป็น 100 บาท เป็นต้น

  • ระบบระดับสมาชิก (Tiered programs): ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งมีระดับที่สูงขึ้นพร้อมสิทธิพิเศษที่มากขึ้น

  • ระบบสมาชิกแบบเช่าใช้: ลูกค้าจ่ายเงินรายเดือน/รายปีเป็นสมาชิกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคลับหรือกลุ่มพิเศษที่จะได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าผู้ที่ไม่ใช่สมาชิก

  • การสะสมแต้มเสมือนเล่นเกมส์ (Gamification): ลูกค้าสะสมแต้มในรูปแบบการเล่นเกมส์ เช่น การมีมิสชั่นหรือด่านให้สะสมแต้มให้ครบ เมื่อครบจะได้ Badge หรือเหรียญบางอย่าง ซึ่งจะให้สิทธิพิเศษบางอย่าง เป็นต้น

การจะมีหรือไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้บนแอป Loyalty ต้องพิจารณาถึงลูกค้าที่จะมาเป็นสมาชิกของแบรนด์ ว่ามีพฤติกรรมในการซื้ออย่างไร มีความ Sensitive ต่อราคาหรือไม่ ตอบรับกับโปรโมชันหรือรีวอร์ดอย่างไร และที่สำคัญกลยุทธ์และการวางตัวของแบรนด์ของเรานั้นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราวางแผน “ประสบการณ์” ที่ลูกค้าจะมีต่อแอปของเรา (และแน่นอนว่า ฟีเจอร์เหล่านี้ มีต้นทุนที่สูงต่างกันนะครับ)

2. การเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่

ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว แอป Loyalty ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว สำหรับธุรกิจที่มีการเติบโต เราจะต้องพิจารณาถึงระบบที่มีการใช้อยู่แล้ว และการเชื่อมต่อเข้ากับแอปของเราให้ไร้ความผิดพลาดมากที่สุด โดยปกติแล้วจะได้แก่

🔹 ระบบขายหน้าร้าน (POS):

ถือเป็นระบบที่สำคัญที่สุดต่อแอป Loyalty เพราะเป็นที่มาของการขาย ส่วนใหญ่แล้วจะมีการเชื่อมต่อกันในส่วนของ (1) ยอดซื้อ เมื่อบันทึกซื้อใน POS แล้วให้มีการสะสมแต้มให้ลูกค้าทันที (2) รีวอร์ด หากลูกค้าจะใช้ Voucher บางอย่าง จะต้องสามารถบันทึกส่วนลดได้ใน POS (3) ฐานข้อมูลสมาชิก การที่จะรู้ได้ว่าใครจะได้สิทธิพิเศษอะไร จะต้องมีฐานข้อมูลสมาชิกที่ตรงกันทั้งในแอปและใน POS เป็นต้น

🔹 แพลตฟอร์ม E-commerce:

หากเป้าหมายคือการดึงลูกค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ มาไว้ที่แอปของเรา อาจจะมีวิธีให้ลูกค้าสมัครสมาชิกจากแพลตฟอร์มอื่น หรือมาแลกรีวอร์ดจากแอป เพื่อเอาไปเป็นส่วนลดที่แพลตฟอร์มอื่น เป็นต้น

🔹เครื่องมืออย่าง CRM, Marketing Automation, หรือ CDP:

เมื่อได้ข้อมูลลูกค้ามาแล้ว หากแอปของเราไม่ได้มีเครื่องมือในการสื่อสารกลับไปหาลูกค้าในทุกช่องทาง ก็สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าออกตามระดับ ยอดซื้อ ความถี่ และอื่นๆ เพื่อทำการเสนอโปรโมชัน หรือส่วนลดพิเศษที่เฉพาะตามบุคคลมากขึ้น 

การที่ระบบเหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกับแอป Loyalty จะช่วยทำให้งานหลังบ้านของเราไม่สะดุด มีข้อผิดพลาดน้อย ตรวจสอบได้ และที่สำคัญลูกค้าจะได้ประสบการณ์ที่รวดเร็วทันใจและสร้างความประทับใจที่ดี

3. ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้า (User Experience - UX) และการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Engagement)

แอป Loyalty ที่ประสบความสำคัญจะต้อง ใช้ง่าย เร็ว และให้รีวอร์ดจริงๆ
ข้อพิจารณาหลักๆ ด้านประสบการณ์ลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่

💡ออกแบบมาเพื่อมือถือ:

ลูกค้าส่วนใหญ่คาดหวังอยู่แล้วว่าแอป Loyalty จะต้องเปิดบนมือถือ ผ่านแอปของแบรนด์ หรือผ่านแพลตฟอร์มแชทอย่าง Line, Alipay, WhatsApp

💡สมัครใช้ง่าย แลกรีวอร์ดง่าย:

การสมัครใช้ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ง่ายและเร็วที่สุดสำหรับลูกค้า หากใช้เวลาหรือต้องการข้อมูลมากเกินไป อาจจะทำให้ลูกค้าล้มเลิกความตั้งใจไปได้ง่ายๆ การแลกรีวอร์ดก็เช่นกัน ต้องทำให้ลูกค้าเห็นว่ามีคะแนนเท่าไหร่ แลกอะไรได้บ้าง และทำการแลกได้อย่างไม่ยุ่งยาก

💡เนื้อหาที่เฉพาะส่วนบุคคล (Personalization):

หากจะส่งโปรโมชัน ลูกค้าก็มักจะคาดหวังที่จะได้โปรโมชันที่เกี่ยวกับสินค้าที่ชื่นชอบ เคยซื้อ หรือคาดว่าจะซื้อ เพราะฉะนั้น Engine ที่อยู่หลังบ้านของตัวแอปพลิเคชันจะต้องสามารถจัดกลุ่มสมาชิกเพื่อให้เราสามารถส่งเนื้อหาให้ตรงกับข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนได้

💡การทำ Gamification:

นอกจากง่ายแล้ว แอป Loyalty ในปัจจุบันยังแข่งกับที่ความ “สนุก” ด้วยการเพิ่มเกมส์ต่างๆ มาให้การสะสมแต้ม หรือเพิ่มยอดซื้อเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น หรือน่าเข้าร่วม เช่น การทำชาเลนจ์ การให้ตามเก็บแต้มให้ครบ x แต้ม การไต่ระดับสมาชิกได้สูงขึ้นในระยะเวลาจำกัด เป็นต้น

แต่การจะมีฟีเจอร์เหล่านี้ ก็ต้องคิดให้ดีว่าจะทำให้แอปของเราใช้ยากเกินไปหรือไม่ ซับซ้อนเกินไปจนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้นานเกินไปหรือไม่ การออกแบบประสบการณ์และหน้าตาการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการพัฒนาแอป

4. การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดให้ฉลาดกว่าเดิม

การมีแอปพลิเคชันไม่ควรจะทำหน้าที่แค่เพื่อให้รีวอร์ดกับลูกค้า แต่ควรจะให้รีวอร์ดกับแบรนด์ด้วย ในที่นี้ รีวอร์ดของเราก็คือ “ข้อมูล” และ “อินไซต์” ที่ช่วยให้เราพัฒนาแผนธุรกิจและการตลาดให้ได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปนั่นเอง เช่น

📊 เข้าใจอินไซต์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า:

เราควรจะเห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่หรือแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการซื้อแบบใด? ชอบซื้อเมนูอะไร ในช่วงเวลาใด ทางช่องทางไหน? แต่ละสาขามีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเมนูต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร เป็นต้น อินไซต์เหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถพัฒนาเมนูใหม่ๆ ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม และทำโปรโมชันเฉพาะสาขา หรือระยะเวลาได้อย่างแม่นยำ

📊 ให้ระบบช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ และทำงานให้เรา:

ให้ระบบ โดยเฉพาะตัวที่มี AI ทำการเก็บข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ และคาดการณ์ให้กับเรา เช่น คาดการณ์สัดส่วนของลูกค้าที่จะเลิกใช้ (Churn) และส่งข้อความเพื่อนำเสนอโปรโมชันให้กลับมาใช้ หรือ ส่งโปรโมชันพิเศษเพื่อดึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่มาที่หน้าร้านให้กลับมา เป็นต้น

📊 สร้างยอดขายจากกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจ่าย:

เมื่อมีข้อมูลที่เก็บไว้มากพอ ก็ทำให้เราเห็นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนขึ้น และจะเห็นเองว่ากลุ่มใดคือกลุ่มที่พร้อมจะจ่ายให้กับสินค้าที่ราคาสูงกว่าปกติ หรือกลุ่มที่พร้อมจะลองเมนูใหม่ๆ ก่อนใคร เราจะเริ่มเรียนรู้ว่าการส่งโปรโมชันพิเศษไปให้กลุ่มเหล่านี้ จะมีผลอย่างไรกับรายได้ที่วิ่งกลับมา

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ แบรนด์จะเริ่มทำโปรโมชันที่ฉลาดขึ้น และเริ่มเห็นยอดขายที่สูงขึ้นตามลำดับ

5. อย่าลืมมองความปลอดภัยของข้อมูล และความพร้อมในการขยับขยาย

คุณค่าของแอป Loyalty ก็คือข้อมูลของลูกค้า ทำให้การปกป้องและจัดการข้อมูลลูกค้านั้นเป็นเรื่องที่จะมองข้ามไม่ได้ อย่าลืมเรื่องเหล่านี้:

🔐 การทำตามกฏหมายด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่าง PDPA เราจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้าในการใช้ข้อมูล และส่งข้อมูลด้านการตลาดก่อนเสมอ

🔐 การจ่ายเงินที่ปลอดภัย (หากมีการซื้อออนไลน์ได้) และการได้มาซึ่งแต้มหรือการแลกรีวอร์ดที่โปร่งใส ไร้ทุจริต

🔐การเลือกโซลูชันที่มีโครงสร้าง (Infrastructure) ที่พร้อมเติบโตไปกับข้อมูลที่นับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระบบควรจะยังทำงานได้ดี ไม่ว่าเราจะมีฐานข้อมูลที่มากขึ้นอย่างรวดเร็วมากน้อยเพียงใด

หากข้อมูลลูกค้ารั่วไหลออกไป หรือแอปหยุดทำงานกระทันหัน จะทำให้ลูกค้าเริ่มไม่เชื่อใจในแบรนด์ และอาจจะทำให้การใช้งานแอปลดน้อยลงได้

โซลูชันในการสร้างแอป Loyalty ตัวใหม่ของคุณ

หลังจากที่ดูข้อพิจารณาสำคัญต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรม Loyalty กันไปแล้ว เรามาดูตัวเลือกโซลูชันในเชิงระบบกันบ้าง ว่าสามารถเริ่มจากระบบแบบใดได้บ้าง

ตัวเลือกที่ 1: แอป Loyalty สำเร็จรูปพร้อมใช้

ในตลาดของไทย มีแอปพลิเคชัน Loyalty ที่พร้อมใช้อยู่แล้วมากมาย เพียงแค่สมัครใช้ และตั้งค่าตามโมเดลที่ต้องการ ก็สามารถเริ่มมีแอปของตนเองได้เลย 

✅ เหมาะสำหรับ: ธุรกิจร้านอาหาร หรือแบรนด์ขายขนมที่มีขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ต้องการทำโมเดลที่มีความซับซ้อน อยากเริ่มใช้ทันที ไม่ต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ที่มีอยู่
✅ ตัวอย่าง: Rocket CRM, Loga, ChocoCRM, Pointspot เป็นต้น

ข้อดี: เริ่มใช้งานได้เลยทันที ราคาไม่แพง และมีฟีเจอร์มาตรฐานให้เราเลือกใช้ได้ ไม่ต้องออกแบบเอง
ข้อเสีย: ปรับแต่งได้น้อยกว่า อาจไม่เป็นไปตามแบรนด์ของตนเองทั้งหมด และอาจมีข้อจำกัดในการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ 

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการโซลูชันที่พร้อมใช้ได้โดยไม่ได้มีความต้องการด้านฟีเจอร์ที่ซับซ้อน ไม่มีงบลงทุนสูง 

ตัวเลือกที่ 2: แอป Loyalty กึ่งสำเร็จรูป (White-Label)

เป็นแอปพลิเคชันที่มีโครงมาแล้วในระดับหนึ่ง เช่น ฟีเจอร์พื้นฐาน หน้าตาการใช้งาน แต่สามารถให้แบรนด์ทำการปรับแต่งฟีเจอร์บางส่วน รวมถึงหน้าตาการแสดงผลสีและฟ้อนท์ของแอปพลิเคชันได้

เหมาะสำหรับ: ธุรกิจที่ยังต้องการปรับแต่งฟีเจอร์บางอย่าง แต่ไม่อยากเริ่มใหม่จากศูนย์
ตัวอย่าง: Primo, BuzzeBees, HatoHub

ข้อดี: ปล่อยแอปได้เร็วกว่าแบบพัฒนาจากศูนย์ และสามารถปรับหน้าตาให้เป็นไปตามแบรนด์ของตนเองได้ รวมถึงทำฟีเจอร์บางอย่างที่เฉพาะเจาะจงตามกลยุทธ์แบรนด์ได้
ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแอปที่พร้อมใช้ ใช้เวลามากกว่าในการพัฒนา และอาจจะยังมีข้อจำกัดในบางฟีเจอร์

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการประสบการณ์ความเป็น “แบรนด์” สูงมากๆ และต้องการปรับแต่ง Custom บางฟีเจอร์ที่สำคัญต่อกลยุทธ์การตลาดโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องลงทุนสูงเท่าพัฒนาขึ้นมาเองใหม่

ตัวเลือกที่ 3: แอป Loyalty ที่พัฒนาขึ้นมาเองใหม่ทั้งหมด

เป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยไม่มีโครงสร้างใดๆ มาก่อน จะต้องทำการออกแบบทั้งฟีเจอร์ความต้องการ หน้าตา และการเชื่อมต่อทั้งหมดใหม่

✅ เหมาะสำหรับ: ธุรกิจร้านอาหารเครือขนาดใหญ่ แบรนด์อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีหลายสาขา หรือมีในหลายประเทศ และมีความต้องการพิเศษเฉพาะของแบรนด์

✅ ข้อดี: ปรับแต่งฟีเจอร์ได้ตามต้องการทั้งหมด ไม่มีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ควบคุมความปลอดภัย การจัดเก็บ และการนำไปใช้ของข้อมูลได้ทั้งหมด
ข้อเสีย: ค่าใช้จ่ายสูงกว่าตัวเลือกอื่นๆ ใช้เวลาพัฒนานาน และจำเป็นต้องมีทีมในการจัดการกับแอปพลิเคชันไปตลอด

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการแอปพลิเคชันที่ไม่เหมือนใคร มีความเป็นแบรนด์ของตัวเอง มีกลยุทธ์ที่มีเฉพาะแบรนด์ของตนเอง มีงบประมาณในการลงทุนเพื่อสร้างและดูแลแอปในระยะยาว

โซลูชันในการสร้างแอป Loyalty ตัวใหม่ของคุณ

หลังจากที่ดูข้อพิจารณาสำคัญต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรม Loyalty กันไปแล้ว เรามาดูตัวเลือกโซลูชันในเชิงระบบกันบ้าง ว่าสามารถเริ่มจากระบบแบบใดได้บ้าง

ตัวเลือกที่ 1: แอป Loyalty สำเร็จรูปพร้อมใช้

ในตลาดของไทย มีแอปพลิเคชัน Loyalty ที่พร้อมใช้อยู่แล้วมากมาย เพียงแค่สมัครใช้ และตั้งค่าตามโมเดลที่ต้องการ ก็สามารถเริ่มมีแอปของตนเองได้เลย 

✅ เหมาะสำหรับ: ธุรกิจร้านอาหาร หรือแบรนด์ขายขนมที่มีขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ต้องการทำโมเดลที่มีความซับซ้อน อยากเริ่มใช้ทันที ไม่ต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ที่มีอยู่
✅ ตัวอย่าง: Rocket CRM, Loga, ChocoCRM, Pointspot เป็นต้น

ข้อดี: เริ่มใช้งานได้เลยทันที ราคาไม่แพง และมีฟีเจอร์มาตรฐานให้เราเลือกใช้ได้ ไม่ต้องออกแบบเอง
ข้อเสีย: ปรับแต่งได้น้อยกว่า อาจไม่เป็นไปตามแบรนด์ของตนเองทั้งหมด และอาจมีข้อจำกัดในการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ 

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการโซลูชันที่พร้อมใช้ได้โดยไม่ได้มีความต้องการด้านฟีเจอร์ที่ซับซ้อน ไม่มีงบลงทุนสูง 

ตัวเลือกที่ 2: แอป Loyalty กึ่งสำเร็จรูป (White-Label)

เป็นแอปพลิเคชันที่มีโครงมาแล้วในระดับหนึ่ง เช่น ฟีเจอร์พื้นฐาน หน้าตาการใช้งาน แต่สามารถให้แบรนด์ทำการปรับแต่งฟีเจอร์บางส่วน รวมถึงหน้าตาการแสดงผลสีและฟ้อนท์ของแอปพลิเคชันได้

เหมาะสำหรับ: ธุรกิจที่ยังต้องการปรับแต่งฟีเจอร์บางอย่าง แต่ไม่อยากเริ่มใหม่จากศูนย์
ตัวอย่าง: Primo, BuzzeBees, HatoHub

ข้อดี: ปล่อยแอปได้เร็วกว่าแบบพัฒนาจากศูนย์ และสามารถปรับหน้าตาให้เป็นไปตามแบรนด์ของตนเองได้ รวมถึงทำฟีเจอร์บางอย่างที่เฉพาะเจาะจงตามกลยุทธ์แบรนด์ได้
ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแอปที่พร้อมใช้ ใช้เวลามากกว่าในการพัฒนา และอาจจะยังมีข้อจำกัดในบางฟีเจอร์

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการประสบการณ์ความเป็น “แบรนด์” สูงมากๆ และต้องการปรับแต่ง Custom บางฟีเจอร์ที่สำคัญต่อกลยุทธ์การตลาดโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องลงทุนสูงเท่าพัฒนาขึ้นมาเองใหม่

ตัวเลือกที่ 3: แอป Loyalty ที่พัฒนาขึ้นมาเองใหม่ทั้งหมด

เป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยไม่มีโครงสร้างใดๆ มาก่อน จะต้องทำการออกแบบทั้งฟีเจอร์ความต้องการ หน้าตา และการเชื่อมต่อทั้งหมดใหม่

✅ เหมาะสำหรับ: ธุรกิจร้านอาหารเครือขนาดใหญ่ แบรนด์อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีหลายสาขา หรือมีในหลายประเทศ และมีความต้องการพิเศษเฉพาะของแบรนด์

✅ ข้อดี: ปรับแต่งฟีเจอร์ได้ตามต้องการทั้งหมด ไม่มีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ควบคุมความปลอดภัย การจัดเก็บ และการนำไปใช้ของข้อมูลได้ทั้งหมด
ข้อเสีย: ค่าใช้จ่ายสูงกว่าตัวเลือกอื่นๆ ใช้เวลาพัฒนานาน และจำเป็นต้องมีทีมในการจัดการกับแอปพลิเคชันไปตลอด

👉 ใครควรใช้โซลูชันแบบนี้? ธุรกิจที่ต้องการแอปพลิเคชันที่ไม่เหมือนใคร มีความเป็นแบรนด์ของตัวเอง มีกลยุทธ์ที่มีเฉพาะแบรนด์ของตนเอง มีงบประมาณในการลงทุนเพื่อสร้างและดูแลแอปในระยะยาว

ข้อสรุป

การเลือกแอป Loyalty ที่เหมาะกับธุรกิจ ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ​ งบประมาณ และทรัพยากรในการจัดการแอปพลิเคชัน 

ไม่ว่าจะเป็นแอปแบบสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป หรือพัฒนาขึ้นมาใหม่เอง สิ่งสำคัญคือการเชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อ ประสบการณ์ลูกค้าที่ดี และอินไซต์ที่เราจะได้จากระบบนั้นๆ 

🚀 หากต้องการคำปรึกษาในการวิเคราะห์กลยุทธ์ หรือการวางแผนสรรหาหรือสร้างแพลตฟอร์ม Loyalty ที่เหมาะกับธุรกิจ F&B ของคุณ สามารถติดต่อมาสอบถามเราได้เลยครับ

ลองอ่านเคสของโปรเจกต์ที่เราช่วยลูกค้าทรานส์ฟอร์มประสบการณ์ลูกค้าด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชัน Loyalty 

[1] ระบบ Loyalty สำหรับแบรนด์กาแฟ Roots 

[2] ระบบ Loyalty สำหรับห้างสรรพสินค้า

ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

#LoyaltyApp

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.