กับดักที่ผู้บริหารมักพบเจอในการทำ Digital Transformation: ทำไมจึงล้มเหลว?

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจทวีความเข้มข้น Digital Transformation กลายเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร แต่ถึงแม้หลายบริษัทจะใช้เม็ดเงินจำนวนมากในการลงทุนด้านเทคโนโลยี ผู้บริหารหลายท่านยังคงพบว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้นเสี่ยงที่จะล้มเหลวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก ปัจจัยภายใน ทั้งสิ้น 

บทความนี้ ASAP Project จะชวนทุกท่านมาเข้าใจ ปัจจัยที่ทำให้การทำ Digital Transformation นั้นล้มเหลว พร้อมกรณีศึกษาและวิธีป้องกันสำหรับผู้บริหารกันครับ

TYPE

Thoughts

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง: การก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล

ย้อนกลับไปก่อนการแพร่ระบาดของโควิด หลายบริษัทอาจยังไม่เห็นความสำคัญของ Digital Transformation เท่าที่ควร แต่เมื่อวิกฤตมาถึง หลายองค์กรต้องรีบปรับตัวอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันนี้เองที่ทำให้หลายองค์กรที่ยังขาดความพร้อม ผลลัพธ์จึงยังไม่ชัดเจนหรือประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง

ในประเทศไทย แต่ละองค์กรยังคงเผชิญความท้าทายในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันครับว่าพวกเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง

ความท้าทายสำคัญของ Digital Transformation

1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ

60% ขององค์กรระบุว่า ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดคือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล หลายองค์กรประสบปัญหาในการหาคนที่มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะแม้จะมีเทคโนโลยีที่ดี แต่หากไม่มีบุคลากรที่สามารถนำมาใช้ได้จริงก็ย่อมไม่เกิดผล

2. งบประมาณและทรัพยากรที่จำกัด

การจัดสรรงบประมาณได้ไม่เพียงพอเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ หรือการพัฒนาทักษะของบุคลากร ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่สำคัญ ในปี 2023 นี้ มีองค์กรถึง 47% ที่ยังคงพบปัญหาด้านงบประมาณ ทำให้การปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลต้องล่าช้าออกไป

3. วัฒนธรรมดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรง 

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลยังเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมภายในองค์กร ด้วย ซึ่งมีถึง 57% ขององค์กรที่พบปัญหานี้ การที่วัฒนธรรมในองค์กรไม่ส่งเสริมให้ คนในองค์กรปรับตัวหรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ย่อมส่งผลให้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไร้ประสิทธิภาพเช่นกัน

4. ระบบข้อมูลที่ล้าหลัง (Legacy systems)

ปัญหาสุดท้ายคือ ระบบเก่าๆ ที่มีอยู่เดิมที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆได้  และผู้บริหารเองก็ไม่สามารถตัดสินใจที่จะลดบทบาทหรือยุติการใช้งาน โดย 42% ขององค์กรที่ประสบปัญหานี้ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการอัพเกรดหรือการเปลี่ยนแปลง

ความท้าทายสำคัญของ Digital Transformation

1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ

60% ขององค์กรระบุว่า ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดคือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล หลายองค์กรประสบปัญหาในการหาคนที่มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะแม้จะมีเทคโนโลยีที่ดี แต่หากไม่มีบุคลากรที่สามารถนำมาใช้ได้จริงก็ย่อมไม่เกิดผล

2. งบประมาณและทรัพยากรที่จำกัด

การจัดสรรงบประมาณได้ไม่เพียงพอเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ หรือการพัฒนาทักษะของบุคลากร ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่สำคัญ ในปี 2023 นี้ มีองค์กรถึง 47% ที่ยังคงพบปัญหาด้านงบประมาณ ทำให้การปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลต้องล่าช้าออกไป

3. วัฒนธรรมดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรง 

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลยังเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมภายในองค์กร ด้วย ซึ่งมีถึง 57% ขององค์กรที่พบปัญหานี้ การที่วัฒนธรรมในองค์กรไม่ส่งเสริมให้ คนในองค์กรปรับตัวหรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ย่อมส่งผลให้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไร้ประสิทธิภาพเช่นกัน

4. ระบบข้อมูลที่ล้าหลัง (Legacy systems)

ปัญหาสุดท้ายคือ ระบบเก่าๆ ที่มีอยู่เดิมที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆได้  และผู้บริหารเองก็ไม่สามารถตัดสินใจที่จะลดบทบาทหรือยุติการใช้งาน โดย 42% ขององค์กรที่ประสบปัญหานี้ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการอัพเกรดหรือการเปลี่ยนแปลง

ทำอย่างไรให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จ?

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

บทบาทของผู้นำ กลายเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จ

ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการเข้าใจสภาพแวดล้อม มองหาโอกาสอยู่เสมอ และตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร การทำ Digital Transformation ที่แท้จริงนั้นไม่ใช่แค่การนำเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มใหม่มาใช้ แต่รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ทำอย่างไรให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จ?

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

บทบาทของผู้นำ กลายเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จ

ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการเข้าใจสภาพแวดล้อม มองหาโอกาสอยู่เสมอ และตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร การทำ Digital Transformation ที่แท้จริงนั้นไม่ใช่แค่การนำเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มใหม่มาใช้ แต่รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

💡 4 กลยุทธ์ที่แนะนำสำหรับความสำเร็จใน Digital Transformation

[1] ความสำเร็จที่เริ่มจากเป้าหมาย

การตั้งเป้าหมายในการทำ Digital Transformation ควรเริ่มจากการประเมินระดับความกระหายขององค์กร (Appetite) การเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูลในหน่วยงาน หรือขั้นตอนงานเล็กๆ อาจเพียงพอในบางกรณี แต่เมื่อองค์กรต้องการเติบโตมากขึ้น ควรขยับไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่มีความซับซ้อนและศักยภาพมากขึ้น เช่น CDP, ERP, WMS, Production Planning และในที่สุด หากต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มรูปแบบ ก็คือการนำเทคโนโลยีมาปฏิวัติธุรกิจทั้งหมด และสร้างระบบงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด (Fully-Integrated) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด

กรณีศึกษา

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) เป็นตัวอย่างของการทำ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้นจากการก่อตั้ง “KBTG” (KASIKORN Business-Technology Group) ในปี 2016 เพื่อเป็นหัวหอกในการพัฒนา Digital Innovation ต่างๆ KBTG ใช้ข้อมูลและ AI เพื่อปรับปรุงบริการของธนาคาร ให้สะดวกสบายต่อผู้ใช้บริการอยู่เสมอ เช่น การชำระเงินดิจิทัลและการขอสินเชื่อ ผ่านแอพพลิเคชั่นที่โดดเด่น อย่าง “K PLUS” และ “LINE BK” ซึ่งช่วยให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก และขยายตลาดใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

[2] การลงทุนในบุคลากร:

การลงทุนไม่ควรจำกัดเพียงแค่เทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังควรรวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีความยั่งยืนในระยะยาว

กรณีศึกษา

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” ได้นำ AI และเทคโนโลยี Data Lake มาพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดซื้อจัดจ้างที่ช่วย เพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงแรมทั้ง 19 แห่ง แพลตฟอร์มนี้ช่วยคาดการณ์ (Demand Forecast) เพิ่มโอกาสในการประหยัดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัวในการเจรจากับซัพพลายเออร์และการจัดการสัญญา ส่งผลให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นและสร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการ

[3] การสื่อสารที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ผู้นำองค์กรควรสื่อสารเป้าหมายและกลยุทธ์การทำ Digital Transformation ให้ชัดเจนกับทุกระดับขององค์กร การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมจากพนักงานจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่น

กรณีศึกษา

บริษัทชั้นนำอย่าง “SCB X” ซึ่ง ซึ่งผันตัวเองจากการเป็นธนาคารดั้งเดิมมาเข้าสู่ธุรกิจดิจิตอล ตระหนักถึงปัญหานี้ดี และได้ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรให้พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น Employee AI-Literacy Program และการจัดงาน “Internal AI Hackathon” โดยเริ่มต้นจากการสร้างความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีต่างประเทศเพื่อให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมและมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในคนเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

[4] การวัดผลและปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง

Digital Transformation ไม่ใช่สิ่งที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องมีการประเมินผลลัพธ์และปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

💡 4 กลยุทธ์ที่แนะนำสำหรับความสำเร็จใน Digital Transformation

[1] ความสำเร็จที่เริ่มจากเป้าหมาย

การตั้งเป้าหมายในการทำ Digital Transformation ควรเริ่มจากการประเมินระดับความกระหายขององค์กร (Appetite) การเริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูลในหน่วยงาน หรือขั้นตอนงานเล็กๆ อาจเพียงพอในบางกรณี แต่เมื่อองค์กรต้องการเติบโตมากขึ้น ควรขยับไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่มีความซับซ้อนและศักยภาพมากขึ้น เช่น CDP, ERP, WMS, Production Planning และในที่สุด หากต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มรูปแบบ ก็คือการนำเทคโนโลยีมาปฏิวัติธุรกิจทั้งหมด และสร้างระบบงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด (Fully-Integrated) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด

กรณีศึกษา

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) เป็นตัวอย่างของการทำ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้นจากการก่อตั้ง “KBTG” (KASIKORN Business-Technology Group) ในปี 2016 เพื่อเป็นหัวหอกในการพัฒนา Digital Innovation ต่างๆ KBTG ใช้ข้อมูลและ AI เพื่อปรับปรุงบริการของธนาคาร ให้สะดวกสบายต่อผู้ใช้บริการอยู่เสมอ เช่น การชำระเงินดิจิทัลและการขอสินเชื่อ ผ่านแอพพลิเคชั่นที่โดดเด่น อย่าง “K PLUS” และ “LINE BK” ซึ่งช่วยให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก และขยายตลาดใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

[2] การลงทุนในบุคลากร:

การลงทุนไม่ควรจำกัดเพียงแค่เทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังควรรวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีความยั่งยืนในระยะยาว

กรณีศึกษา

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ “AWC” ได้นำ AI และเทคโนโลยี Data Lake มาพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดซื้อจัดจ้างที่ช่วย เพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงแรมทั้ง 19 แห่ง แพลตฟอร์มนี้ช่วยคาดการณ์ (Demand Forecast) เพิ่มโอกาสในการประหยัดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัวในการเจรจากับซัพพลายเออร์และการจัดการสัญญา ส่งผลให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นและสร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการ

[3] การสื่อสารที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ผู้นำองค์กรควรสื่อสารเป้าหมายและกลยุทธ์การทำ Digital Transformation ให้ชัดเจนกับทุกระดับขององค์กร การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมจากพนักงานจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่น

กรณีศึกษา

บริษัทชั้นนำอย่าง “SCB X” ซึ่ง ซึ่งผันตัวเองจากการเป็นธนาคารดั้งเดิมมาเข้าสู่ธุรกิจดิจิตอล ตระหนักถึงปัญหานี้ดี และได้ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรให้พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น Employee AI-Literacy Program และการจัดงาน “Internal AI Hackathon” โดยเริ่มต้นจากการสร้างความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีต่างประเทศเพื่อให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมและมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในคนเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

[4] การวัดผลและปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง

Digital Transformation ไม่ใช่สิ่งที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องมีการประเมินผลลัพธ์และปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สรุป: ก้าวข้ามกับดักและก้าวสู่ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation

เอาละครับถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Transformation มีอุปสรรคที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล - องค์กรหาคนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีได้ยาก ทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ราบรื่น

  2. งบประมาณและทรัพยากรจำกัด - ขาดงบในการลงทุนเทคโนโลยีใหม่และพัฒนาทักษะบุคลากร

  3. วัฒนธรรมดิจิทัลไม่แข็งแรง - องค์กรไม่ส่งเสริมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

  4. ระบบข้อมูลล้าหลัง - ระบบเก่าไม่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ขัดขวางการอัพเกรด

แต่หากคุณสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จ จะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างแน่นอนครับ โดยอาจจะลองพิจารณา 4 กลยุทธ์นี้กันก่อน:

  1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน - เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ และขยายไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและระบบที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์

  2. ลงทุนในบุคลากร - พัฒนาทักษะพนักงานให้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ เพื่อความยั่งยืนระยะยาว

  3. การสื่อสารที่ชัดเจน - ผู้นำต้องสื่อสารเป้าหมายและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น

  4. การวัดผลและปรับปรุง - ประเมินและปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความสามารถในการแข่งขัน

สุดท้ายนี้เราขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกท่านเพื่อข้ามผ่านการทำ Digital Transformation ไป สู่ความสำเร็จได้นะครับ


Source:
Deloitte
Digital Transformation Academy

ASAP Project เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.

Feeling overwhelmed?
Let us help you find the right tools.